01.

ปริญญาตรี

– หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต(กศ.บ.) สาขาวิชาดนตรีศึกษาใช้ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษาไม่เกิน 4 ปี

02.

ปริญญาโท

– หลักสูตรปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.)​

– หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา

03.

ปริญญาเอก

– หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ (ปร.ด.)

Relaxed & Friendly

Our Programs Are Tailored To Suit You

หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.)

Bachelor of Music. (Music) (B.M)
  • กลุ่มวิชาดนตรีพื้นบ้าน (Folk Music)
  • กลุ่มวิชาดนตรีไทย (Thai Music)
  • กลุ่มวิชาดนตรีตะวันตก (Western Music)

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต(กศ.บ.) สาขาวิชาดนตรีศึกษา

Bachelor of Education (Music Education) (B.Ed. Music Education)
  • กลุ่มวิชาดนตรีพื้นบ้าน (Folk Music)
  • กลุ่มวิชาดนตรีไทย (Thai Music)
  • กลุ่มวิชาดนตรีตะวันตก (Western Music)

หลักสูตรปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.)

Master of Music. (Music) (M.M)
  1. กลุ่มวิชาเอกดนตรีวิทยา (Musicology) 
  2. กลุ่มวิชาเอกดนตรีศึกษา (Music Education) 
  3. กลุ่มวิชาเอกดนตรีพื้นบ้าน (Folk Music) 
  4. กลุ่มวิชาเอกหมอลำ (Mor lam Performing Arts) 
  5. กลุ่มวิชาเอกการจัดการดนตรีและศิลปะการแสดง (Music Management and Performing Arts) 
  6. กลุ่มวิชาเอกบริหารธุรกิจดนตรีและเทคโนโลยีดนตรี (Music Business Adminstration and Music Technology) 
  7. กลุ่มวิชาเอกการประพันธ์เพลง (Music Composition) 

หลักสูตรระดับปริญญาโท แบ่งเป็น 2 แผน คือ แผน ก และแผน ข ดังนี้

  1. แผน ก แบบ ก 1 หมายถึง การเรียนที่มีเพียงการทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว มีหน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และจะต้องทำกิจกรรมทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ อาจมีการเรียนกระบวนวิชาเพิ่มเติมได้โดยไม่นับหน่วยกิตสะสม 
  2. แผน ก แบบ ก 2 หมายถึง การเรียนที่เป็นลักษณะของการศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หน่วยกิตสะสมเป็นไปตามโครงสร้างหลักสูตรของสาขาวิชา 
  3. แผน ข หมายถึง การศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษา และทำการค้นคว้าแบบอิสระไม่น้อยกว่า 3-6 หน่วยกิต 

มีการสอบคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ โดยทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดสอบ

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา

Master of Education Program in Music Education

ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : การศึกษามหาบัณฑิต (ดนตรีศึกษา)
(ชื่อย่อ) : กศ.ม.(ดนตรีศึกษา)
ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) : Master of Education (Music Education)
(ชื่อย่อ) : M.Ed.(Music Education)

หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ (ปร.ด.)

Doctor of Philosophy Program in Music. (Ph.D. Music)
  •  แขนงวิชาดนตรีวิทยา (Musicology)
  •  แขนงวิชาดนตรีศึกษา (Music Education)
  •  แขนงวิชาการบริหารจัดการทางดนตรี (Music Adminstration)

หลักสูตรระดับปริญญาเอก แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

แบบ 1 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ แยกเป็น

  • แบบ 1.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต แบบ 1.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
  • แบบ 2 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง และก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพ และศึกษากระบวนวิชาเพิ่มเติม แยกเป็น
  • แบบ 2.1 สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต แบบ 2.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
Scroll to Top